Wed. Jan 22nd, 2025
0 0
Read Time:3 Minute, 56 Second

เมื่อวันที่ 8 ส.ค. นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล กรรมการรองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ ได้โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว ระบุว่า จบยุคดอกเบี้ยต่ำของไทย!!! สัปดาห์นี้จะเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของเศรษฐกิจไทย ยุคดอกเบี้ยต่ำเตี้ยติดดิน ที่เกิดขึ้นมาหลายปี ก็จะจบยุค เป็นจุดเริ่มต้นของการปรับขึ้นดอกเบี้ยกลับไปสู่ปกติที่ผู้ฝากเงิน (โดยเฉพาะผู้เกษียณอายุ กินดอก) จะเริ่มยิ้มได้

ส่วนผู้กู้ยืม ต้องเริ่มบริหารต้นทุนด้านการเงิน ต้องระมัดระวังในการสร้างหนี้ เพราะหนทางข้างหน้าจะท้าทายขึ้น ภาระหนี้ของทุกคนจะเริ่มเพิ่มขึ้น ทำให้ช่วงสบายๆ ของ CFOs สิ้นสุดลง

ส่วนดอกเบี้ยไทยจะขึ้นเท่าไร ไปจบลงที่ตรงจุดไหน ในช่วงต่อไปนั้น ก็คงต้องรอคณะกรรมการนโยบายการเงินตัดสินใจ โดยมีปัจจัยหลักที่จะเป็นหัวใจสำคัญกำหนดดอกเบี้ยต่อไปคือ “แนวโน้มของเงินเฟ้อ” ที่ธนาคารกลางประเทศต่างๆ ทั่วโลก ต้องแข่งกันปรับขึ้นดอกเบี้ยในช่วง 6 เดือนแรก ก็เพราะเงินเฟ้อ

สำหรับไทยในช่วงต่อไป ก็เช่นกัน ภาระดอกเบี้ยของทุกคนจะเพิ่มแค่ไหน จะขึ้นกับว่า เงินเฟ้อทำตัวดีแค่ไหน ในประเด็นนี้ ต้องถือว่าเป็น “ข่าวดี” ที่ไทยกำลังจะปรับขึ้นดอกเบี้ย ในช่วงเงินเฟ้อกำลังแผ่วลงบ้าง

เดือนล่าสุด (กรกฎาคม) เป็นครั้งแรกของปี ที่เงินเฟ้อลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า จากเคยเพิ่มขึ้นต่อเนื่องอย่างน่ากังวลใจจากเดือนก่อนหน้า (MoM) เฉลี่ยเดือนละ +0.9% มาตลอดเทียบกับปีก่อนหน้า (YoY) เงินเฟ้อไทยเดือนนี้ก็ลดลงเช่นกัน อยู่ที่ +7.61% จาก +7.66% ในเดือนก่อนหน้า

แม้จะลดลงเพียงนิดเดียว แต่ก็ยังน่าดีใจ เพราะภาพจำของทุกคนสำหรับครึ่งแรกของปีคือ เงินเฟ้อพุ่งทะยาน สูงแล้ว สูงอีก ไม่รู้จะไปจบที่ตรงไหน แต่เดือนนี้ มีข่าวดีเล็กๆ เรื่องราคาสินค้าต่างๆ พร้อมกันหลายจุด

โดยเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า เงินเฟ้อทั่วไป -0.16% ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) -1.3% ดัชนีราคาก่อสร้าง -0.7% จะมีก็เพียงเงินเฟ้อพื้นฐานที่ยังบวกเพิ่มอีก +0.5% จากการที่ราคาของสินค้าต่างๆ เริ่มปรับตัวขึ้น จากราคาหมวดพลังงาน และการขนส่ง ที่เพิ่มขึ้นมากในช่วงที่ผ่านมา

หากเราไปดูรายละเอียดขององค์ประกอบสำคัญของเงินเฟ้อ จะพบว่า ที่ดีขึ้นคือ หมวดที่ไม่ใช่อาหาร +7.6% ลดลงจาก +8.5%, พลังงาน +33.8% ลดลงจาก +40.0%, พาหนะการขนส่ง +10.2% ลดลงจาก 14.8% สะท้อนราคาน้ำมันโลกที่ปรับตัวดีขึ้น ในช่วงที่ผ่านมา

ส่วนหมวดที่แย่ลง ก็คือ หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล +8.0% เพิ่มขึ้นจาก +6.4%,  เนื้อสัตว์ เป็นไก่ สัตว์น้ำ +13.7% จาก 13.0%, ผัก ผลไม้ +5.8% จาก 0.4% , อาหารบริโภค-ในบ้าน +8.7% จาก +7.3%, อาหารบริโภค-นอกบ้าน +8.4% จาก 6.5% สะท้อนถึงภาระต้นทุนที่เพิ่มในช่วงที่ผ่านมา ที่กดดันให้ทุกคนต้องปรับเพิ่มราคาสินค้าต่างๆ เพื่อส่งผ่านภาระบางส่วนให้แก่ผู้บริโภค 

อย่างไรก็ตาม การที่จะวิเคราะห์แนวโน้มการขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลาง เราต้องเข้าใจว่า สำหรับธนาคารกลางประเทศต่างๆ แล้ว ที่สำคัญไปยิ่งกว่าเงินเฟ้อเดือนล่าสุด ก็คือ “แนวโน้ม หรือ outlook” ในระยะต่อไป ของเงินเฟ้อ เพราะฝันร้ายที่สุดของธนาคารกลาง ก็คือ เอา “เงินเฟ้อในระยะยาว” ไม่อยู่

ซึ่งในประเด็นนี้ จะเอาอยู่ ไม่อยู่ มีปัจจัยสำคัญประมาณ 4 เรื่อง ที่ต้องจับตามองอย่างใกล้ชิด เพราะปัจจัยเหล่านี้จะกำหนดแนวโน้มของเงินเฟ้อในในช่วงต่อไป 1คำพูดจาก ทดลองสล็อต pg. ราคาน้ำมันโลก 2. ราคา Commodities โลก โดยเฉพาะหมวดโลหะ อาหาร 3. ค่าเงิน เพราะเรานำเข้าวัตถุดิบและสินค้า และ 4. ราคาค่าจ้าง โดยเฉพาะราคาค่าจ้างขั้นต่ำ และเงินเดือน

สำหรับสี่ปัจจัยหลักนี้ เราเริ่มเห็น ราคาน้ำมันโลก ราคาโลหะโลก ราคาอาหารบางชนิดเริ่มดีขึ้น (จากความกลัว Global Recessions) ทำให้เงินเฟ้อของไทยเริ่มนิ่งขึ้นเช่นกัน ค่าเงินบาทที่เริ่มปรับตัวดีขึ้นบ้าง ก็ช่วยเช่นกัน

ซึ่งหากราคาน้ำมันและ Commodities โลกอยู่ในระดับนี้ต่อไป เงินเฟ้อไทยก็น่าจะเริ่มลดลงในช่วงปลายปี แล้วจะถูกกระทบอีกครั้ง จากการปรับขึ้นราคาค่าจ้างขั้นต่ำ เพื่อให้ลูกจ้างอยู่ได้ แต่ผลกระทบที่เกิดขึ้น ก็น่าจะบริหารจัดการได้

ทั้งหมดนี้ การที่เงินเฟ้อทั่วไปของไทยปรับตัวดีขึ้น ไม่พุ่งทะยาน ลดลงเล็กน้อย และมีแนวโน้มลดลงในช่วงต่อไป จะช่วยให้การขึ้นดอกเบี้ยของแบงก์ชาติสามารถทำแบบค่อยเป็นค่อยไปได้ สามารถคอยดูสถานการณ์ ไม่ต้องเร่งร้อน ถูกกดดันเหมือนกับเฟด หรือธนาคารกลางประเทศอื่นๆคำพูดจาก ทดลองปั่นสล็อต

Happy
Happy
0 %
Sad
Sad
0 %
Excited
Excited
0 %
Sleepy
Sleepy
0 %
Angry
Angry
0 %
Surprise
Surprise
0 %

By admin